• Appendices
    • ภาคผนวก

       

      1. ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและผลกระทบทั่วโลกของมัน

      ไม่ใช่เฉพาะประเทศที่เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่จะต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเล มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของประชากรของโลกอาศัยอยู่ตามที่ราบชายฝั่ง และ  11 ใน 15 เมืองที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่บริเวณปากน้ำชายฝั่ง ในศตวรรษที่ 20 ระดับน้ำทะเลได้สูงขึ้นระหว่าง 10 และ 20 เซนติเมตร (4-8 นิ้ว)

      คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (IPCC) ได้ทำนายการสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลของศตวรรษที่ 21 ไว้ที่ 88 เซนติเมตร แม้แต่ที่การคาดการณ์การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลที่ระดับปานกลางนี้ ก็จะทำให้เกิดความโกลาหล น้ำท่วมชายฝั่งและพายุทำลายล้าง การกัดกร่อนชายฝั่ง น้ำเค็มปนเปื้อนแหล่งน้ำจืด น้ำท่วมพื้นที่ชายเลนและเกาะที่เป็นกำแพงกั้น และการเพิ่มสูงขึ้นของน้ำเค็มของปากน้ำจะเป็นจริงทั้งหมดแม้แต่ที่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย

      ความเป็นไปได้ที่น่าหวาดกลัวอย่างหนึ่งก็คือการละลายของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์  ตามข้อมูลของ IPCC “โมเดลสภาพอากาศระบุว่า การอุ่นขึ้นของกรีนแลนด์ น่าจะอยู่ที่หนึ่งถึงสามเท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก โมเดลแผ่นน้ำแข็งบ่งชี้ได้ว่า อุณหภูมิในพื้นที่นั้นมากกว่า 3°C (5.4°F) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป จะนำไปสู่การละลายอย่างสมบูรณ์ของแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ซึ่งจะเป็นผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 7 เมตร (การประเมินครั้งที่ 3 IPCC, รายงานสังเคราะห์, รวบรวมสำหรับผู้วางนโยบาย)

      ถ้ารวมแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์คติกตะวันตก โลกอาจประสบกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 13 เมตร ( 43 ฟุต ) ถ้าเราไม่ยับยั้งการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเราอย่างรวดเร็ว แม้แต่ส่วนเล็ก ๆ ของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นนี้จะเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจและสังคม  ต่อไปนี้คือผลกระทบที่เป็นไปได้ของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

      ·          เงินหลายพันล้านสูญเสียไปกับการปรับตัว หากคุณสามารถมีให้จ่าย การศึกษาชิ้นหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ประมาณต้นทุนของการปรับตัวต่อแม้แต่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเพียงหนึ่งเมตรในสหรัฐอเมริกาจะเป็นเงินมากถึง 156 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ( 3% ของจีเอ็นพี)

      ·          ด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเพียงหนึ่งเมตร ประเทศที่เป็นเกาะบางแห่ง อย่างเช่น มัลดีฟส์จะจมลง  เกาะสองแห่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศคิริบาติได้จมอยู่ใต้คลื่นแล้ว (ประเทศเกาะแปซิฟิก) ถ้าแนวโน้มการร้อนขึ้นดำเนินต่อไป เมืองอย่างลอนดอน กรุงเทพมหานครและนิวยอร์คจะจมลงใต้ทะเล ซึ่งทำให้คนนับล้านต้องย้ายถิ่นฐานและทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

      ·          การสูงขึ้นของมหาสมุทรจะปนเปื้อนแหล่งน้ำจืดทั้งบนพื้นผิวดินและใต้ดิน ทำให้การขาดแคลนน้ำจืดของโลกเลวร้ายลงไปอีก

      ·           ประชากรชนบทและพื้นที่ไร่นา (โดยเฉพาะข้าว) บนชายฝั่งบางแห่งจะถูกทำลายไป (แหล่งที่มา: http://www.greenpeace.org/international/campaigns/climate-change/impacts/sea_level_rise/)

       

      2. การหดตัวมากขึ้นของธารน้ำแข็งโลก

                หิมะจากภูเขาเซียร่า เนวาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งชลประทานให้กับทุ่งตอนกลางของแคลิฟอร์เนีย ซึ่งถือได้ว่าเป็นตะกร้าผักและผลไม้ของโลก ได้ละลายก่อนเวลาในฤดูใบไม้ผลิและคาดว่าจะลดลง   30 70 เปอร์เซ็นต์ในสิ้นศตวรรษนี้ (ที่มา:
      http://www.sierranevadaalliance.org/programs/db/pics/1133215435_14399.f_pdf.pdf Sierra Climate Change Toolkit 2nd edition, Sierra Nevada Alliance)

                ทุ่งน้ำแข็งบนภูเขาที่สูงที่สุดของแอฟริกา คิริมันจาโร หดตัวลง 80% ในศตวรรษที่ผ่านมา โดยลดลง 33% ในช่วงปี 1989 ถึง 2000 เพียงเท่านั้น (ที่มา: "Thompson LG, Mosley-Thompson E, Davis ME, Henderson KA, Brecher HH, Zagorodnov VS, Mashiotta TA, Lin PN, Mikhalenko VN, Hardy DR, Beer J. 2002. Kilimanjaro ice core records: evidence of Holocene climate change in tropical Africa. Science 298: 589–593.http://bprc.osu.edu/Icecore/589.pdf"

                ภาวะโลกร้อนทำให้ธารน้ำแข็งของจีนหดตัวลง 7% ต่อปี ซึ่งสามารถสร้างความเสียหายต่อ 300 ล้านคน ผู้ที่ต้องพึ่งพาธารน้ำแข็งเหล่านี้สำหรับแหล่งน้ำ (ที่มา: "Ice-capped Roof Of World Turns To Desert By Geoffrey Lean 08 May 2006, The Independent, http://www.countercurrents.org/cc-lean080506.htm)

                ตั้งแต่ทศวรรษ 1930 พื้นที่ธารน้ำแข็งบนภูเขาในเอเชียกลางได้หดตัวลง 35 50 เปอร์เซ็นต์ และธารน้ำแข็งเล็ก ๆ หลายร้อยแห่งได้หายไปแล้ว (ที่มา: http://www.unep.org/pdf/ABCSummaryFinal.pdf  UNEP Atmospheric Brown Clouds: Regional Assessment Report With Focus on Asia 2008)


      3. สภาพอากาศที่สุดขั้วของโลก

      ปี 2010 เป็นปีที่ร้อนที่สุดที่ได้มีการบันทึกไว้จนถึงบัดนี้:

      ปีนี้เป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตามรายงานของนักวิทยาศาสตร์สภาพอากาศที่องค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NOAA)

      ด้วยอุณหภูมิเดือนกรกฎาคมร้อนที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ อุณหภูมิเดือนมีนาคม เมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์

      ในเดือนมิถุนายน 2010 เดวิด อีสเตอร์ลิง แห่งศูนย์ข้อมูลด้านสภาวะอากาศของ NOAA ได้ระบุถึงการค้นพบที่ไม่ปกติ ที่แผ่นดินทั่วโลกร้อน

      ยิ่งไปกว่านั้น  17 ประเทศ ซึ่งคิดเป็น  19% ของแผ่นดินทั้งหมดของโลก และรวมถึงประเทศทางเหนือ เช่น ฟินแลนด์และรัสเซีย ได้ทำสถิติใหม่สำหรับอากาศที่ร้อนที่สุด

      นี่คือพื้นผิวที่ใหญ่ที่สุดบนดาวเคราะห์ที่ประสบกับอุณหภูมิสูงในปีเดียวกันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยสัญญาณเตือนเหล่านี้    ดร. มาร์ค เซอร์เรซ  ผู้บริหารของศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ประเด็นของเรื่องคือว่า ภาวะโลกร้อนยังไม่หยุด

      เควิน เทรนเบิร์ธ หัวหน้าหน่วยวิเคราะห์สภาพอากาศที่ศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NCAR) ได้เตือนอีกว่า ในสภาวะเช่นนั้น เราควรเตรียมพร้อมสำหรับการเพิ่มมากขึ้นของพายุเขตร้อน โดยกล่าวว่า ครั้งสุดท้ายที่มันมีภาวะความร้อนเช่นนี้ คือตอนที่เรามีฤดูเฮอร์ริเคนซึ่งทำลายสถิติ ที่นำไปสู่แคทรินาและริต้า และเราใช้ตัวอักษรจนหมด ปีนี้อุณหภูมิในแอทแลนติกสูงกว่าที่เคยเป็นในปี 2005

      (ที่มา: http://solveclimate.com/blog/20100816/most-ever-heat-record-temperatures-19-percent-earths-surface

      http://news.discovery.com/earth/heat-record-climate-change.html

      http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/article/2010/08/13/AR2010081306090.html

      http://www.accuweather.com/blogs/news/story/35632/hottest-year-on-record-so-far.asp

      http://green.blogs.nytimes.com/2010/08/17/weather-extremes-and-climate-change

      ที่รัสเซีย

                      ในปี 2010 ความร้อนสุดขั้วในรัสเซียได้นำไปสู่การเสียชีวิต 14,340 คนในมอสโคว์ ในเดือนกรกฎาคมเพียงเท่านั้น ความร้อนยังเป็นสาเหตุของความแห้งแล้งที่ร้ายแรงที่สุดในรัสเซียฝั่งยุโรปในรอบครึ่งศตวรรษ ทำให้รัฐบาลรัสเซียต้องระงับการส่งออกแป้งสาลี ความร้อนนั้นยังทำให้เกิดไฟไหม้ที่เป็นภัยอันตรายต่อบริเวณส่วนใหญ่ของรัสเซียฝั่งยุโรป

      (ที่มา: http://climateprogress.org/2010/08/07/russian-heat-wave-drought-soil-moisture-wheat)

      ที่สหรัฐอเมริกา

                      ปี 2010 เริ่มต้นด้วยสภาพอันเยือกเย็นที่รัฐฟลอริด้า แล้วมันเปลี่ยนเป็นฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดตามสถิติสำหรับบริเวณนั้น

       ที่ออสเตรเลีย

                      ออสเตรเลียตอนเหนือมีเดือนพฤษภาคม-ตุลาคมที่มีฝนตกมากที่สุดที่ได้มีบันทึกไว้  ขณะที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้พบกับความแห้งแล้งที่แย่ที่สุดเป็นประวัติการณ์

      ที่อเมริกาใต้

                      ส่วนต่าง ๆ ของแอ่งน้ำอเมซอนซึ่งถูกจู่โจมโดยความแห้งแล้ง ประสบกับระดับน้ำที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ยุโรป

      (ที่มา: http://seattletimes.nwsource.com/html/businesstechnology/2013716921_apyescidisastrousyear.html)


      4. ภัยพิบัติไฟป่าครั้งสำคัญ ๆ

      ที่ออสเตรเลีย

                      ออสเตรเลียตะวันออกประสบกับไฟไหม้และน้ำท่วม ขณะที่ทางตอนใต้ประสบกับความร้อนสุดขั้ว และฝนที่ตกหนักคุกคามภาคเหนือ คลื่นความร้อนซึ่งเกิดขึ้นศตวรรษละครั้งได้ถูกทำนายไว้ว่าจะเข้มข้นในสุดสัปดาห์ โดยอุณหภูมิสูงและลมแห้งทำให้เกิดไฟป่าที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 25 ปี

      (ที่มา: http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM5gyUztdckUqzd_SFg9jClfRmHlWEg)

      ที่รัสเซีย

                      ในเดือนสิงหาคม 2010 ป่าและไม้ที่ทับถมกันในหนองน้ำรัสเซียเกิดไฟไหม้จนไม่สามารถควบคุมได้ การลุกลามดำเนินต่อไปในพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาณาเขตประเทศยุโรป พื้นที่ในรัสเซียเจ็ดแห่งได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ไฟไหม้ทั้งหมด  520 ครั้งลุกโชนในรัสเซีย รวมเป็นพื้นที่ทั้งหมด 188,525 เฮกเตอร์ (465,000 เอเคอร์) พื้นที่เกือบ 650,000 เฮกเตอร์ถูกไฟเผาไหม้

      (ที่มา: http://online.wsj.com/article/SB10001424052748704017904575408833952872038.html )

      5. ภัยพิบัติน้ำท่วมโลกครั้งสำคัญ ๆ

                    น้ำท่วมในปีนี้ได้คร่าชีวิตมากกว่า 6,300 คนใน 50 ประเทศ นับถึงเดือนกันยายนตามองค์การอนามัยโลก

                    ตามการวิจัยของสวิส เร ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน ประชากรเกือบ 260,000 คน เสียชีวิตจากภัยธรรมชาติในปี 2010 ภัยพิบัติทั้งหมดทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ 222 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2010 - คิดเป็นมากกว่าเศรษฐกิจของฮ่องกง

            (ที่มา: http://seattletimes.nwsource.com/html/businesstechnology/2013716921_apyescidisastrousyear.html)

      ที่จีน

                      ในปี 2010 พื้นที่ส่วนใหญ่ของจีนถูกโจมตีโดยฝนฤดูร้อน ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมร้ายแรงในรอบทศวรรษ  ทำให้เกิดดินถล่มที่ทำให้ผู้คนเสียชีวิตนับไม่ถ้วนและทำให้แม่น้ำใหญ่หลายสายเอ่อล้นถึงระดับที่เป็นอันตราย บ้านเรือน  1.4  ล้านหลังถูกทำลายโดยน้ำท่วม ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรง  275  พันล้านหยวน (41 พันล้านดอลลาร์)

                    ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนถูกโจมตีหนักที่สุด ซึ่งเมืองทั้งเมืองถูกน้ำท่วมและแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับเกาหลีเหนือเอ่อล้นในระดับวิกฤติ ทำให้เกิดความหวาดกลัวต่อการเกิดน้ำท่วมในทั้งสองประเทศ

               (ที่มา: http://www.google.com/hostednews/afp/article/ALeqM5juX85JVgP2tsnqUSZxNgLuXejxDw)

      ที่ปากีสถาน

                     น้ำท่วมปากีสถานปี 2010 เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม หลังจากฝนมรสุมตกอย่างหนัก มี 2,000 คนเสียชีวิต และบ้านเรือนมากกว่าหนึ่งล้านหลังเรือนถูกทำลาย และ  20 ล้านคนโดยประมาณได้รับบาดเจ็บหรือไร้บ้าน 
                     (ที่มา
      : http://en.wikipedia.org/wiki/2010_Pakistan_floods)

      6. ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวครั้งสำคัญ ๆ ในโลก

      ที่จีน

      ·           ในแผ่นดินไหวขนาด 8 ในเดือนพฤษภาคม 2008 ในจังหวัดเสฉวนทำลายล้างพื้นที่ขนาดใหญ่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งทำให้อย่างน้อย 87,000 คน เสียชีวิตหรือสูญหาย

      ·           แผ่นดินไหวขนาด 6.2 เขย่าโกลมัดในเดือนสิงหาคม 2009 ทำให้เกิดดินถล่มและบ้านเรือนเสียหายประมาณ 30 หลัง

      ·           ในเดือนเมษายน 2010 อย่างน้อย 589 คนเสียชีวิตและมากกว่า 10,000 คนได้รับบาดเจ็บจากแผ่นดินไหวขนาด 6.9 จู่โจมทางตะวันตกของจีน

      (ที่มา: http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/asia/china/7588401/China-earthquake-kills-hundreds.html)

      ที่ไอซ์แลนด์และประเทศอื่น
                      
                       ภูเขาไฟระเบิดได้ทำให้การคมนาคมทางอากาศต้องหยุดชะงักเป็นเวลาหลายวัน ขัดขวางการเดินทางของผู้คนกว่าเจ็ดล้านคน  ภูเขาไฟลูกอื่น ๆ ที่คองโก กัวเตมาลา เอกวาดอร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ทำให้ประชาชนต้องรีบหาที่หลบภัย  นั่นคือหลังจากที่น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม และแผ่นดินไหวได้คร่าชีวิตผู้คนนับร้อยก่อนหน้านี้ในปีเดียวกัน

      ที่อินโดนีเซีย

                      ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในเดือนตุลาคม อินโดนีเซียประสบกับภัยพิบัติสามครั้งซ้อน  ได้แก่ แผ่นดินไหวขนาด 7.7 ที่ทำให้มีคนเสียชีวิต สีนามีที่คร่าชีวิตมากกว่า 500 คน และภูเขาไฟระเบิดที่ทำให้ 390,000 คนต้องอพยพ

      (ที่มา: http://seattletimes.nwsource.com/html/businesstechnology/2013716921_apyescidisastrousyear.html)

      จากรอบโลก

                      เมื่อต้นเดือนมกราคม 2010 แผ่นดินไหวรุนแรงสามครั้งได้โจมตีเกาะโซโลมอน หลังจากการเกิดแผ่นดินไหวขนาด  7.0  ที่ไฮติเพียงไม่กี่สัปดาห์ ทำให้มากกว่าหนึ่งล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย  230,000  คนเสียชีวิตและ 300,000 คนได้รับบาดเจ็บ ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นก็ถูกเขย่าเช่นกัน จากนั้นชิลีถูกโจมตีด้วยแผ่นดินไหวขนาด  8.8 ซึ่งเป็นหนึ่งในแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยวัดได้ และก็มีเหตุการณ์สั่นสะเทือนเกิดมากขึ้นตามมาที่ญี่ปุ่น เม็กซิโก สุมาตรา และล่าสุดก็คือที่ตะวันตกของจีน นับถึงเดือนเมษายน (2010) มีการเสียชีวิตจากภัยพิบัติธรรมชาติรวมกันเกือบ  250,000 คน  (ที่มา: http://www.businessweek.com/news/2010-04-15/killer-quakes-on-rise-with-cities-on-fault-lines-roger-bilham.html )

      7. การขาดแคลนอาหารโลก

      สภาพอากาศที่ไม่สามารถทำนายได้คุกคามเสถียรภาพของแหล่งอาหาร:

                      ในวันอังคารที่ 7 กันยายน 2010 สถาบันการจัดการน้ำนานาชาติของศรีลังกา (IWM) นำเสนอรายงานต่อที่ประชุมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ณ งานสัปดาห์น้ำโลกที่กรุงสต๊อกโฮม ประเทศสวีเดน ซึ่งได้เตือนว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนกำลังนำไปสู่ฝนตกที่เอาแน่นอนไม่ได้มากยิ่งขึ้น รายงานนี้กล่าวว่า ช่วงเวลาและการแปรเปลี่ยนของปริมาณฝนที่ไม่มีความแน่นอน กำลังมีผลกระทบต่อความมั่นคงของอาหารและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด

                      ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อเท็จจริงที่ว่า 66% ของพืชผลในเอเชียโดยประมาณหล่อเลี้ยงด้วยน้ำฝนเท่านั้น ไม่ใช่ระบบชลประทาน ขณะที่แอฟริกาใช้น้ำจากน้ำฝน 94%  สุนิตา นาเรน หัวหน้าของ ศูนย์สำหรับวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมอินเดีย (CSE) ได้เน้นย้ำถึงตัวอย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ของสภาพแห้งแล้งที่สุดขั้วที่นำไปสู่ไฟป่าฤดูร้อนอันทำลายล้างที่รัสเซีย และเหตุการณ์ตรงกันข้ามได้แก่ น้ำท่วมระดับหายนะในปากีสถาน โดยกล่าวว่า เรากำลังไปถึงจุดที่ซึ่งเรามีน้ำมากขึ้น มีวันฝนตกมากขึ้น แต่มันมีความผันแปรสูง ดังนั้น มันจึงนำไปสู่ความแห้งแล้งและมันนำไปสู่น้ำท่วม

      (ที่มา: http://www.france24.com/en/20100907-erratic-global-weather-threatens-food-security)

      8. ภาวะโลกร้อน: ผลกระทบของแต่ละองศา

      ถ้าภาวะโลกร้อนดำเนินไปที่อัตราเร็ว ณ ปัจจุบัน เราสามารถประสบกับการสูญพันธุ์ แล้วจะเกิดอะไรจากการที่โลกร้อนขึ้น? นี่คือผลกระทบสำหรับแต่ละองศา ซึ่งคัดลอกมาจากบทความ หกองศา: อนาคตของเราบนดวงดาวที่ร้อนขึ้น โดยมาร์ค ไลนาส ในนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟิก 22 มกราคม 2008 (ไลนาส เอ็ม 2007)

      เพิ่มขึ้น 1º C
      ทะเลที่ปราศจากน้ำแข็งจะดูดซับความร้อนมากขึ้นและเร่งภาวะโลกร้อน น้ำจืดหายไปหนึ่งในสามของพื้นผิวของโลก น้ำท่วมแนวชายฝั่งที่ต่ำ โอกาสของการหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนหนึ่งองศา เป็นศูนย์


      เพิ่มขึ้น 2
      º C
      ชาวยุโรปจะเสียชีวิตจากความร้อน ป่าไม้ถูกทำลายโดยไฟ ต้นไม้ที่เกิดความเครียดจะเริ่มปล่อยคาร์บอนแทนที่จะดูดซับมัน หนึ่งในสามของสายพันธุ์ทั้งหมดจะเผชิญกับการสูญพันธุ์ โอกาสที่จะหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนที่สององศาเป็น 93% แต่เฉพาะในกรณีที่การปลดปล่อยของก๊าซเรือนกระจกลดลง 60% ในอีก 10 ปีข้างหน้า

      เพิ่มขึ้น 3
      º C
      คาร์บอนถูกปลดปล่อยออกจากพืชผัก และดินเร่งความเร็วของภาวะโลกร้อน การตายของป่าฝนอเมซอน ซุปเปอร์เฮอริเคนโจมตีเมืองชายฝั่ง การอดอยากหิวโหยในแอฟริกา โอกาสของการหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนสามองศานั้นต่ำ ถ้ามีการเพิ่มขึ้นสององศาและกระตุ้นวงจรปฏิกิริยาตอบสนองของคาร์บอนจากดินและต้นไม้


      เพิ่มขึ้น 4º C
      การเตลิดเปิดเปิงของการละลายของน้ำแข็งเพอร์มาฟรอสท์ทำให้ภาวะโลกร้อนไม่สามารถหยุดยั้งได้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะอังกฤษไม่สามารถอาศัยอยู่ได้เนื่องจากน้ำท่วมที่เลวร้าย พื้นที่ในเมดิเตอร์เรเนียนถูกปล่อยทิ้ง โอกาสของการหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนที่สี่องศานั้นต่ำ ถ้ามีการสูงขึ้นถึงสามองศาและกระตุ้นการละลายของน้ำแข็งเพอร์มาฟรอสท์ที่ไม่สามารถควบคุมได้

      เพิ่มขึ้น 5
      º C
      มีเทนจากพื้นมหาสมุทรเร่งภาวะโลกร้อน น้ำแข็งหายไปจากขั้วโลกทั้งสอง มนุษย์อพยพเพื่อค้นหาอาหารและพยายามอย่างสุดชีวิตที่จะดำรงชีพอย่างสัตว์ โอกาสที่จะหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนที่ห้าองศานั้นน้อยมาก ถ้ามีการสูงขึ้นถึงสี่องศาและปลดปล่อยมีเทนที่ถูกกักไว้จากท้องทะเล

      เพิ่มขึ้น 6
      º C
      ชีวิตบนโลกจบลงด้วยพายุตามที่พระศาสดาต่าง ๆ ทรงพยากรณ์ไว้ น้ำท่วมรุนแรงอย่างรวดเร็ว ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์และลูกไฟมีเทนวิ่งพล่านไปทั่วโลกด้วยพลังของระเบิดนิวเคลียร์  เฉพาะเห็ดราที่อยู่รอด โอกาสของการหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนที่หกองศาเป็นศูนย์ ถ้ามีการสูงขึ้นเลยห้าองศา ในเวลานั้นปฏิกิริยาตอบสนองทุกอย่างจะอยู่เหนือการควบคุม


      9. มลภาวะจากของเสียอุตสาหกรรม

      ที่สหรัฐอเมริกา

      ประมาณ  13 เปอร์เซ็นต์ของบ่อน้ำดื่มในประเทศตะวันตกตอนกลาง มีระดับที่ไม่ปลอดภัยของไนเตรทจากปุ๋ยและการรรั่วไหลของปุ๋ยคอกที่ไม่ปลอดภัย

      ในปี  2001 อีพีเอ บังคับให้โรงงานแกะห้าแห่ง จัดหาน้ำขวดสำหรับผู้อยู่อาศัยท้องถิ่นเพราะกิจกรรมฟาร์มได้ทำให้น้ำดื่มของท้องถิ่นนั้นปนเปื้อน

      ในปี 1997 การศึกษาหนึ่งพบว่า 82 เปอร์เซ็นต์ของการดำเนินการฟาร์มสัตว์ ได้ผลิตไนโตรเจนเกินความสามารถที่พื้นดินจะจัดการได้และมี 64 เปอร์เซ็นต์ที่มีฟอสเฟอรัสมากเกินไปมาจากฟาร์มที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก

      รายงานเมื่อเร็วๆนี้โดยมูลนิธิ เชสพีค เบย์ ระบุให้ มูลไก่เป็นสาเหตุหลักของมลภาวะในอ่าวเชสพีค

      (ที่มาhttp://www.humanesociety.org/assets/pdfs/farm/gve.pdf)

       

      10. คุณสมบัติสูงส่ง (NQ: Noble Quality) ของสัตว์และมนุษย์

       “จากการทำสมาธิ ฉันได้ค้นพบว่า คุณสมบัติความสูงส่ง (NQ) ของสายพันธุ์ต่าง ๆ สามารถวัดได้เป็นเปอร์เซ็นต์เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขามีคุณสมบัติของความเมตตาและความไม่เห็นแก่ตัวอย่างไร

      อย่างเช่น สุนัขและสุกร ทั้งสองมี NQ 30% วัวมี NQ 40% ในทางตรงข้ามกัน สัตว์ที่มีความรุนแรงมากกว่าหรือสัตว์กินเนื้อ มีแนวโน้มที่จะมี NQ ต่ำกว่า สิงโต เป็นต้น มี NQ 3% และเสือ  4%

      และสำหรับมนุษย์ ขณะที่พวกเราบางคนมี คุณรู้ไหม กล่าวโดยทั่วไป  เราบางคนมี NQ 10% หลายคนมีคุณสมบัติสูงส่งแค่  3%  มนุษย์สามารถเรียนรู้จากตัวอย่างของคุณสมบัติสูงส่งในเพื่อนร่วมโลกของเราเหล่านี้        - อนุตราจารย์ชิงไห่

      คุณสมบัติความรัก (LQ: Loving Quality) ของสัตว์และมนุษย์

       มันคือคุณสมบัติที่ไร้เงื่อนไข ความรัก ที่อยู่เหนือความรักของสามีและภรรยา แม่และบุตร ความรักที่เรามีต่อตัวตนทั้งหมด เราพร้อมที่จะเสียสละและช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นผู้มีบุญคุณแก่เรา  คนแปลกหน้าหรือศัตรู       - อนุตราจารย์ชิงไห่

       

      ข้างล่างนี้เป็นคุณสมบัติความรัก (LQ) เปอร์เซ็นต์ของสัตว์ตัวอย่างและมนุษย์ที่ท่านอาจารย์ชิงไห่ได้แบ่งปันจากความรู้แห่งสวรรค์ของท่าน:

       

       

      ·           สัตว์บ้าน:  มีตั้งแต่  80% ถึง 300%

      สุนัข                                      110%                        สุกร                         120%

      ไก่                                            90%                       กระบือ                     110%

      ม้า                                          180%

      ·           สัตว์ป่า:  มีตั้งแต่ 20% ถึง 300%           

      ลิงป่า                      100%                      หมี                         110%

      ช้าง                         100%                     ปลาวาฬ                  300%

      วัว                           300%                     ปลาโลมา                110%

      เสือ                           20%                     สิงโต                        21%

      ·           มนุษย์: เฉลี่ยอยู่ที่ 20%

      ที่สูงที่สุดบนโลกนี้คือ:  90%
                      ที่ต่ำที่สุดบนโลกนี้คือ:  5%

      นักบุญ/ผู้รู้แจ้ง: พัน ๆ % และพวกเขาไม่ใช่มนุษย์!

       

      ทั้ง NQ และ LQ นั้นสำคัญ ขณะที่ IQ อาจจะสำคัญหรือไม่ก็ได้! เราควรบ่มเพาะ LQ นี้  มนุษย์ควรหวนระลึกว่าเราได้ใช้เวลา (อันสั้น) ที่มีค่าของเราในโลกนี้อย่างไร”        —อนุตราจารย์ชิงไห่

    บทที่ 1.
    บทที่ 2.
    บทที่ 3.
    บทที่ 4.
    บทที่ 5.
    บทที่ 6.


    Copyright © The Supreme Master Ching Hai. All rights reserved. *